ลงทุนระยะยาว คืออะไร? มีอะไรบ้าง? มือใหม่ต้องรู้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงในชีวิต

31/05/2024
ลงทุนระยะยาว คืออะไร? มีอะไรบ้าง? มือใหม่ต้องรู้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงในชีวิต

ลงทุนระยะยาว เป็นวิธีที่นักลงทุนมักแนะนำให้กับผู้ที่เป็นมือใหม่ที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ แต่ยังประสบการณ์ ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารหรือวิเคราะห์ตลาดตลอดเวลา อีกทั้งวิธีการลงทุนประเภทนี้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูง แต่ความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนแบบระยะสั้น และยิ่งลงต้นทุนจำนวนมากและถือครองระยะยาวเท่าไหร่ก็ยิ่งสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น

วันนี้เราจึงอยากชวนนักลงทุนมือใหม่มาทำความรู้จักว่า การลงทุนระยะยาวคืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมทั้งมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง

 

ลงทุนระยะยาว (Long-Term Investment) คืออะไร?

การลงทุนระยะยาว เป็นการลงทุนในสินทรัพย์หรือกองทุนต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคตโดยจะต้องถือครองหน่วยลงทุนให้ได้ยาวนานเท่าที่ผู้ลงทุนจะสามารถถือครองได้ หากสามารถถือครองได้จนถึงวัยเกษียณได้ยิ่งดี ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายสร้างความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณได้ ส่วนใหญ่ควรถือครองและลงทุนประมาณ 10 ปี ขึ้นไปหรือมากกว่านั้นก็จะยิ่งได้ผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน ต้องเป็นสินทรัพย์ที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จหรือคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นในอนาคตด้วย 

ส่วนผลตอบแทนในการลงทุนระยะยาวนั้น ในช่วงแรกอาจจะเติบโตช้า ต้องมีความอดทนและสม่ำเสมอในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ผลตอบแทนจะยิ่งทวีคูณเพิ่มมากขึ้นด้วยพลังของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) นั่นเอง

 

ลงทุนระยะยาว สามารถลงทุนกับสินทรัพย์อะไรได้บ้าง?

  1. กองทุนรวม

ลงทุนกับกองทุนรวม เป็นการที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รวบรวมระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายรายมารวมเป็นกองใหญ่ แล้วนำไปลงทุนกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามแผนหรือนโยบายที่กองทุนได้ระบุไว้ในโครงการกองทุน โดยมีผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นมืออาชีพคอยบริหารจัดการให้ ตัวอย่างกองทุนที่หลาย ๆ คนอาจรู้จัก เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

ความเสี่ยงในการลงทุนกับกองทุนรวมมีตั้งแต่ความเสี่ยงสูง กลาง ต่ำ ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่กองทุนเลือกลงทุน ดังนั้นก่อนเลือกลงทุนกับกองทุนใดก็ตามควรอ่านหนังสือชี้ชวนให้ดีว่ากองทุนจะนำเงินของเราไปลงทุนกับสินทรัพย์อะไรบ้าง พร้อมประเมินตนเองว่าสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเท่าไร ส่วนข้อดีของกองทุนรวม คือผู้ลงทุนสามารถเริ่มลงทุนได้ในงบน้อย หรือแม้แต่คนที่เป็นมือใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารก็สามารถลงทุนได้

 

  1. พันธบัตรรัฐบาล และ หุ้นกู้

พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้จัดอยู่ในตราสารหนี้ โดยตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล” และตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนจะเรียกว่า “หุ้นกู้”

การลงทุนในตราสารหนี้ทั้ง 2 รูปแบบ เราจะเปรียบเสมือนผู้ปล่อยกู้ให้กับภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับจะอยู่ในรูปแบบของดอกเบี้ยพร้อมกับเงินต้นเมื่อครอบครองตามระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตามก่อนลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขให้ละเอียด เช่น ระยะเวลาของพันธบัตร จำนวนครั้งในการให้ผลตอบแทน/ปี เปอร์เซ็นต์ของดอกเบี้ยและอื่น ๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหุ้นกู้มักได้เปอร์เซ็นต์เยอะกว่าพันธบัตรรัฐบาลในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงมากกว่าเช่นกัน

 

  1. หุ้น

การลงทุนในหุ้น (ตราสารทุน) เป็นการที่บริษัทซึ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วเปิดขายหุ้นเพื่อระดมเงินทุนมาพัฒนากิจการ สินค้าหรือบริการ เพื่อให้ได้ผลประกอบการที่ดี มีกำไรสูง โดยเมื่อเข้าซื้อหุ้นแล้ว เราจะถือเป็นเจ้าของกิจการ หากบริษัทสามารถทำกำไรได้สูง เราจะได้รับผลตอบแทนสูงตามไปด้วย ในขณะเดียวกันก็ต้องแบกรับความเสี่ยงหากบริษัทขาดทุนหรือต้องปิดตัวลง ดังนั้นการลงทุนในหุ้นจึงมีความเสี่ยงสูง ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งต้องสามารถวิเคราะห์ตลาด ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ การเมืองเป็นประจำ ซึ่งถ้าสั่งสมประสบการณ์และความรู้เพียงพอ การลงทุนในหุ้นอาจสามารถสร้างผลตอบแทนที่มากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น โดยผลตอบแทนจะอยู่ในรูปแบบของเงินปันผล และราคาส่วนต่างจากการซื้อ-ขายหุ้น

 

  1. อสังหาริมทรัพย์

เป็นการลงทุนกับที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บ้าน ทาวน์โฮม คอนโด อาคารสำนักงาน โกดัง ซึ่งวิธีการได้ผลตอบแทนนั้นมีหลากหลายวิธี อาทิเช่น การสร้างบ้านเพื่อขายต่อ การรับซื้อบ้านมือสองมาปรับปรุงแล้วขายต่อ การปล่อยเช่ารายเดือน/รายปี การเป็นนายหน้าขายอสังหาฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นการลงทุนกับอสังหาฯ จึงจำเป็นต้องใช้ต้นทุนที่สูง อีกทั้งต้องมีความรู้ในการดูทำเล การปรับปรุงพื้นที่ เพราะผลตอบแทนที่ได้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับทำเลของอสังหาฯ ที่เลือกลงทุน

 

  1. ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก

การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกเช่น ทองคำ เมื่อระยะเวลาผ่านไปมักมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้สามารถซื้อ-ขายเพื่อรับผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาได้ แต่หากเป็นการเก็งกำไรระยะสั้น ๆ อาจจะมีความเสี่ยงสูง มือใหม่ที่ไม่อยากรับความเสี่ยงควรถือครองไว้ในระยะยาว ยิ่งถือนานราคายิ่งสูง

 

สินทรัพย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมอีกรูปแบบคือพลังงานสะอาด เช่น พลังงานหมุนเวียน รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานเหล่านี้มักได้รับการสนับสนุนจากทุกประเทศทั่วโลกทำให้มีโอกาสเติบโตสูง โดยอาจพิจารณาลงทุนในรูปแบบของหุ้นหรือกองทุนก็ได้ นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ ให้เลือกลงทุน เช่น ของสะสม ของแบรนด์เนม ค่าเงิน เงินดิจิทัล เป็นต้น

 

ข้อดีของการลงทุนแบบระยะยาว มีอะไรบ้าง?

  • ลดความผันผวน ความเสี่ยงต่ำกว่า

การลงทุนในระยะยาวมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนระยะสั้น เพราะเป็นการลงทุนที่มุ่งเป้าไปที่ผลลัพธ์ในอนาคตมากกว่าความผันผวนทางการเงินที่เกิดขึ้นระหว่างการลงทุน

  • ยิ่งมีเวลาลงทุนนาน โอกาสได้ผลตอบแทนยิ่งสูง

ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การลงทุนได้ผลตอบแทนสูงก็คือ ระยะเวลาในการลงทุน ยิ่งลงทุนในระยะเวลานานเท่าไร ผลตอบแทนที่ได้รับยิ่งเพิ่มมากขึ้น ด้วยพลังของดอกเบี้ยทบต้น ที่นำผลตอบแทนจากปีก่อนหน้ามารวมเป็นเงินต้นเพื่อลงทุนในปีถัดไป ทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น

  • ช่วยลดหย่อนภาษีได้

การลงทุนในกองทุนบางอย่าง สามารถนำมาช่วยในการใช้ลดหย่อนภาษีได้ อาทิเช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) อีกทั้งผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน (ส่วนต่างของราคา) ยังได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วย (แต่รายได้ที่ได้จากกองทุนในรูปแบบเงินปันผล หรือ เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม ผลประโยชน์เงินสมทบ ยังคงต้องเสียภาษี)

 

การ ลงทุนระยะยาว เหมาะกับบุคคลประเภทใด?

  1. คนที่ต้องการผลตอบแทนในอนาคต ไม่รีบใช้เงิน

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการลงทุนในระยะยาว จะต้องใช้เวลาในการลงทุนที่ยาวนานเพื่อให้เงินต้นและดอกเบี้ยได้ทบทวีจนมีผลตอบแทนที่สูง ดังนั้นคนที่เหมาะกับการลงทุนประเภทนี้ ต้องเป็นคนที่รอผลตอบแทนในอนาคตได้ หรือต้องการมีเงินเก็บเอาไว้ใช้ในอนาคต ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการรีบใช้เงิน

  1. คนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้

การลงทุนระยะยาวมักมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนระยะสั้นก็จริง แต่สุดท้ายก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี ดังนั้นควรเลือกลงทุนประเภทที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ในระหว่างที่ลงทุนต้องมุ่งมั่นกับแผนการลงทุนของเรา อย่าหวั่นไหวเมื่อผลตอบแทนลดลงหรือติดลบในช่วงใดช่วงหนึ่ง

  1. คนที่มีแผนการเงินในระยะยาว

คนที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว ควรวางแผนการเงินไว้อย่างดีแล้ว ต้องมีความพร้อมที่จะสามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง เช่น เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างการลาออกจากงาน หรือเจ็บป่วย ต้องมั่นใจว่าจะสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้

  1. ผู้ที่มีความรู้ในการลงทุน

การลงทุนกับสินทรัพย์บางประเภทมีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น หรือสินทรัพย์ทางเลือก ดังนั้นการลงทุนเหล่านี้จึงต้องการความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรม หรือต้องวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจ การเมืองได้ เป็นต้น

 

แต่ยังมีทางเลือกสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ที่ยังมีความรู้ไม่มาก ยังไม่กล้าลงทุน หรือยังไม่มีประสบการณ์ มาร่วมลงทุนกับซาวาคามิ เรามีประสบการณ์บริหารกองทุนจนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากว่า 1 แสนรายในญี่ปุ่น ดำเนินธุรกิจมามากกว่า  27 ปี พร้อมมืออาชีพที่จะคอยดูแลจัดการบริหารความเสี่ยง แม้ไม่มีความรู้ด้านการลงทุน ไม่มีประสบการณ์ ก็สามารถลงทุนเพื่อมีโอกาสรับผลตอบแทนตามเป้าหมาย เพียงลงทุนกับกองทุนรวมผสมซาวาคามิ

 

คำเตือน กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนฯ ในกองทุนรวม SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด

 

สนใจศึกษาข้อมูลกองทุนได้ที่ https://www.sawakami.co.th/fund/5

ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) เว็บไซต์ www.sawakami.co.th

หรือ Customer Service โทร 02-081-0525 ถึง 26 หรือ Line Official @sawakamith

 

สรุป

การ ลงทุนระยะยาว เป็นการลงทุนที่ต้องอาศัยความอดทนและความสม่ำเสมอในการลงทุนเป็นระยะเวลานาน เพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคตและบรรลุเป้าหมายการเงินที่ตั้งไว้ ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่ยังไม่รีบใช้เงิน อีกทั้งเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก อย่างไรก็ตามการลงทุนระยะยาวก็มีความท้าทาย คือความผันผวนระหว่างการลงทุนในบางช่วงเวลา คุณจึงต้องมีความอดทนและมุ่งมั่นทำตามแผนการลงทุนของตัวเอง

シェア :

020-810-525

Facebook

Line

This website uses cookies to ensure that we give you the best experience on our site.  詳細