ถัวเฉลี่ย (DCA) vs ก้อนเดียว (Lump Sum) ลงทุนแบบไหนเหมาะกับเราที่สุด?
ถัวเฉลี่ย (DCA) vs ก้อนเดียว (Lump Sum) ลงทุนแบบไหนเหมาะกับเราที่สุด?
ถัวเฉลี่ย (DCA) หรือ ก้อนเดียว (Lump Sum) แบบไหนถึงจะเหมาะกับเราที่สุด? แน่นอนว่าการลงทุนทั้ง 2 รูปแบบ มีข้อดี ข้อเสีย และวิธีการที่แตกต่างกันไป ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุน อยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักการลงทุนแบบ Lump Sum และ DCA กันก่อน เพื่อที่จะได้สามารถเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะกับคุณ
ลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (DCA) คืออะไร
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ DCA เป็นแนวคิดในการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่สม่ำเสมอ ตามรอบการลงทุนที่กำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงราคาของสินทรัพย์ในเวลานั้น
เช่น การซื้อหุ้น กองทุนรวม หรือทองคำ ด้วยเงิน 1,000 บาท ทุกเดือน โดยไม่ต้องสนใจว่า ณ ตอนนั้นราคาสินทรัพย์เป็นเท่าไหร่
ลงทุนแบบก้อนเดียว (Lump Sum) คืออะไร
การลงทุนแบบก้อนเดียว หรือ Lump Sum เป็นแนวคิดในการใช้เงินก้อนใหญ่ก้อนเดียวในการซื้อสินทรัพย์ และมุ่งเน้นในการทำกำไร โดยการซื้อ-ขายสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ว่าเหมาะสม หรือคาดว่าราคาสินทรัพย์ที่ลงทุนจะปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เปรียบเทียบให้ชัด DCA vs Lump Sum
ข้อดี
DCA - ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ และสามารถถัวเฉลี่ยต้นทุนให้ต่ำลงได้เรื่อยๆ ในภาวะตลาดมีความผันผวนและเป็นขาลง เพราะเราจะสามารถซื้อหน่วยลงทุนที่ราคาต่ำได้จำนวนมาก
Lump Sum - มีโอกาสในการได้ซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำหากจับจังหวะการลงทุนได้ถูกต้อง โดยซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำด้วยจำนวนเงินมาก เมื่อสินทรัพย์ราคาขึ้น ทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ที่ถืออยู่มีมูลค่าสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะเราลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก
ข้อเสีย
DCA - เห็นความเปลี่ยนแปลง ความเติบโตของมูลค่าที่ช้ากว่า หรือต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้ผลตอบแทนที่ชัดเจน
Lump Sum - หากจับจังหวะผิด อาจทำให้แบกรับความเสี่ยงสูงเมื่อสินทรัพย์ราคาลดลง และ ราคาต้นทุนมีค่าคงที่เสมอ เพราะเป็นการลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก
วิธีการ
Lump Sum - เข้าซื้อสินทรัพย์ในจังหวะที่สินทรัพย์นั้นราคาต่ำ หรืออยู่ในจุดที่พึงพอใจ
แล้วเลือกขายในจังหวะที่สินทรัพย์มีมูลค่าสูงกว่าต้นทุน
DCA - ซื้อสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินเท่าเดิมเรื่อยๆ ตามกรอบเวลาที่วางไว้ และขายสินทรัพย์ตามช่วงเวลาที่ได้วางแผนไว้ หรือเลือกไม่ขายแล้วรับเงินปันผลในสินทรัพย์บางประเภท เช่น หุ้นปันผล หรือกองทุนรวมที่มีการจ่ายปันผล เป็นต้น
ตัวอย่างการคำนวณผลตอบแทน
คำเตือน "การคำนวณผลตอบแทนนี้ เป็นการสมมุติฐานข้อมูลขึ้น มาเท่านั้นเพื่อใช้กับบทความ ทั้งนี้ไม่อาจรับรองถึงความถูกต้อง สมบูรณ์ แม่นยำ ของข้อมูลในอนาคตได้"
DCA ถัวเฉลี่ยเดือนละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 12 เดือน
Lumpsum ซื้อก้อนเดียว 12,000 บาท
จากทั้ง 2 ตาราง เมื่อสังเกต ณ เดือนที่ 12 จะพบว่า:
- การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย DCA ให้ผลตอบแทน 13,317.62 - 12,000 = 1,317.62 หรือคิดเป็นประมาณ +10.9% ต่อปี
- การลงทุนแบบ Lump Sum ให้ผลตอบแทน 13,200 - 12,000 = 1,200 หรือคิดเป็นประมาณ +10% ต่อปี
การลงทุนทั้ง 2 รูปแบบ มีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนทั้งคู่ แต่ที่ต่างกันคือการลงทุนแบบ DCA ไม่จำเป็นต้องติดตามราคาตลาดตลอดเวลา เพียงแค่รอขายในกรอบเวลาที่ได้วางแผนไว้เท่านั้น
ส่วน การลงทุนแบบ Lump Sum จำเป็นต้องเลือกช่วงเวลาที่สามารถทำกำไรได้สูงสุด หรือช่วงเวลาที่คาดการณ์ว่าเหมาะสม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การลงทุนทั้ง 2 รูปแบบมีโอกาสทำกำไร และขาดทุน ได้ทั้งคู่ ตามสถานการณ์ตลาด และความผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่ลงทุน
Lump Sum และ DCA เหมาะกับใคร?
Lump Sum - เหมาะกับผู้ที่มีเงินก้อนในการลงทุนเพียงครั้งเดียว พร้อมติดตามราคาสินทรัพย์ได้สม่ำเสมอ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อหาจังหวะในการขายสินทรัพย์ให้ได้มูลค่าที่สูงกว่าต้นทุนได้
DCA - เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ และวางเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว รวมถึงผู้ที่ไม่ต้องการติดตามราคาของสินทรัพย์ตลอดเวลา
คำเตือน
กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนฯ ในกองทุนรวม SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด
สนใจศึกษาข้อมูลกองทุนรวมผสม sawakami ได้ที่ https://www.sawakami.co.th/all-fund
ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) เว็บไซต์ www.sawakami.co.th
หรือ Customer Service โทร 02-081-0525 ถึง 26 หรือ Line Official @sawakamith https://line.me/R/ti/p/@704veymq
Facebook Official : Sawakami Asset Management Thailand https://www.facebook.com/sawakami.th
แชร์ :