สุขภาพการเงินคุณแข็งแรงหรือไม่ เช็กได้ด้วย 4 วิธีนี้!

30/07/2567
สุขภาพการเงินคุณแข็งแรงหรือไม่ เช็กได้ด้วย 4 วิธีนี้!

สุขภาพการเงินคุณแข็งแรงหรือไม่ เช็กได้ด้วย 4 วิธีนี้!

            สุขภาพการเงิน เป็นสิ่งที่ต้องดูแลให้ดีไม่แพ้สุขภาพร่างกายหรือสุขภาพจิตใจเลย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าสุขภาพการเงินของเราเป็นอย่างไร? บทความนี้ ขอพาทุกคนไปตรวจเช็กสุขภาพการเงิน กับ 4 วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

 

สุขภาพทางการเงินคืออะไร?

            สุขภาพการเงิน คือ การมีสภาวะทางการเงินที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับการดำรงชีวิต และยังเป็นรากฐานความมั่นคงทางการเงินในอนาคตอีกด้วย

 

ทำไมถึงต้องเช็กสุขภาพการเงิน?

            การเช็กสุขภาพการเงิน จะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมสภาวะการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ หรือมีโอกาส ความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ในการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิต รวมถึงช่วยให้คุณสามารถวางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับสุขภาพการเงินของคุณด้วย

 

4 วิธี เช็กสุขภาพการเงินด้วยตัวเอง

 

1. เช็กจากงบรายรับ - รายจ่าย

วิธีเช็กสุขภาพการเงินจากรายรับ-รายจ่ายง่ายๆ ให้คิดตามสูตรนี้

 

เงินคงเหลือสุทธิ = รายรับทั้งหมด - รายจ่ายทั้งหมด

 

หรือใครที่ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำสม่ำเสมอแล้ว ก็จะเห็นภาพรวมการเงินของตนเองชัดเจนว่ามีเงินคงเหลือสุทธิเท่าไหร่ การรู้ยอดเงินคงเหลือ ช่วยให้คุณเริ่มจัดการปัญหา และ วางแผนการบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากไม่มีเงินคงเหลือเลย สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกก็คือการพยายามทำให้รายรับมากขึ้น หรือปรับลดค่าใช้จ่ายลง หรือถ้ามีเงินคงเหลือ ก็จะช่วยให้ตัดสินใจวางแผนลงทุนได้อย่างเหมาะสมขึ้น

 

2. เช็กจากงบดุลส่วนบุคคล

การเช็กงบดุลส่วนบุคคล หรือความมั่งคั่งสุทธิ เป็นประโยชน์อย่างมากในการบริหาร หรือปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเงินให้นำไปสู่ความมั่นคงทางการเงินได้ดีขึ้น มีวิธีคิดดังนี้

 

 ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ทั้งหมด -หนี้สินทั้งหมด

 

ตัวอย่างเช่น นาย A มีสินทรัพย์และหนี้สินดังนี้

 

 

ดังนั้น นาย A จะมีความมั่งคั่งสุทธิเท่ากับ 5,080,000 - 325,000 = 4,755,000 บาท

โดยหากความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวกย่อมหมายความว่าสภาพคล่องของคุณดีมาก แต่ถ้าเป็นลบก็คือ

สภาพคล่องทางการเงินไม่ดีนั่นเอง

 

3. เช็กอัตราส่วนสภาพคล่อง

การเช็กอัตราส่วนสภาพคล่อง เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเช็กสุขภาพทางการเงินของคุณ โดยคิดดังนี้

 

เงินเก็บทั้งหมด/ หนี้สินระยะสั้น (หนี้สินที่มีระยะเวลากำหนดชำระน้อยกว่า 1 ปี)

 

โดยหากมีค่ามากกว่า 1 แปลว่า มีเงินเก็บมากพอในการชำระหนี้ เช่น หากคุณมีเงินเก็บ 100,000 บาท และมีหนี้สิ้นระยะสั้น 150,000 บาท ค่าที่คำนวณได้คือ 100,000 / 150,000 = 0.66 นั่นแปลว่าคุณยังไม่มีเงินเก็บมากพอในการจ่ายหนี้ระยะสั้นทั้งหมด และนั่นหมายถึงสภาพคล่องทางการเงินของคุณยังไม่ดีเท่าไหร่นั่นเอง

 

 

4. เช็กอัตราส่วนเงินออม

อัตราส่วนเงินออมที่ดี คือต้องมีมากกว่า 10% ของรายได้ โดยมีวิธีคิดคือ

 

อัตราส่วนเงินออม = (จำนวนเงินออม x 100)  / รายได้รวม

 

เช่น หากคุณมีรายรวมได้ 40,000 บาทต่อเดือน และจำนวนเงินออมต่อเดือนคือ 6,000 บาท

เมื่อคำนวณแล้วจะได้ อัตราส่วนเงินออม เท่ากับ (6,000 x 100) / 40,000 = 15 หรือก็คือคุณมีอัตราส่วนเงินออม 15% ซึ่งมากกว่าอัตราส่วนเงินออมที่ดี

 

สรุป เช็กสุขภาพการเงินแล้วดีอย่างไร?

การเช็กสุขภาพการเงินก็เปรียบเหมือนการตรวจสุขภาพร่างกายของคุณ เพราะจะช่วยให้รู้เท่าทันสภาวะที่เป็นอยู่ ว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องรีบแก้ไข และช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และวางแผนการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้ดีได้ยิ่งขึ้นด้วย

 


 

 

*คำเตือน

กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนฯ ในกองทุนรวม SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด

 

สนใจศึกษาข้อมูลกองทุนได้ที่ https://www.sawakami.co.th/fund/5

ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) เว็บไซต์ www.sawakami.co.th

หรือ Customer Service โทร 02-081-0525 ถึง 26 หรือ Line Official @sawakamith https://line.me/R/ti/p/@704veymq

Facebook Official : Sawakami Asset Management Thailand https://www.facebook.com/sawakami.th

 

แชร์ :

020-810-525

Facebook

Line

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด นโยบายการใช้คุกกี้