ลงทุนแบบ VI คืออะไร? และเทคนิคต้องรู้ก่อนเริ่มลงทุน
ลงทุนแบบ VI คืออะไร? และเทคนิคต้องรู้ก่อนเริ่มลงทุน
การลงทุนเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน แต่สำหรับนักลงทุนที่มองหาการลงทุนระยะยาว การลงทุนแบบ Value Investment (VI) คือหนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) ขอพาคุณไปรู้จักกับการลงทุนแบบ VI และวิธีการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น รวมถึงเทคนิคการหาหุ้นคุณค่าที่น่าลงทุน
การลงทุนแบบ VI คืออะไร?
การลงทุนแบบ VI ย่อมาจาก Value Investment หรือการลงทุนแบบเน้นคุณค่าเป็นการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท (Intrinsic value) ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ทั้งในปัจจุบัน และ / หรือในอนาคต เช่น ผลประกอบการ กระแสเงินสด และโอกาสในการเติบโต เป็นต้น ซึ่งจะพิจารณาเข้าลงทุนหากราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงที่ประเมินไว้ (Undervalued) และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะยาว โดยมีเป้าหมายจะถือหุ้นนั้นจนกว่าราคาตลาดสูงกว่าหรือเท่ากับมูลค่าที่แท้จริงที่ประเมินไว้ ในหุ้นคุณค่าที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง (Value Stock) นักลงทุนจะทำการวิเคราะห์มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น แล้วซื้อหุ้นเมื่อราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงนั้น แนวทางนี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว การลงทุนแบบ VI แตกต่างจากการเก็งกำไรที่มุ่งหวังผลตอบแทนในระยะสั้น โดยนักลงทุนแบบ VI มักจะใช้เวลาในการวิเคราะห์ธุรกิจที่ตนลงทุนและถือหุ้นนั้นนานพอที่จะให้ผลตอบแทนเติบโต
การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นทำอย่างไร?
ขอยกตัวอย่างอัตราส่วนทางการเงินที่นักลงทุนมักพูดกัน เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลทางการเงินและนำไปใช้เป็นปัจจัยประกอบการประเมินและวิเคราะห์หุ้น
1. อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (Price to Earning Ratio: P/E Ratio)
P/E Ratio เป็นวิธีประเมินมูลค่าหุ้นที่เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยการนำราคาหุ้น มาเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิที่กิจการทำได้ เพื่อดูความคุ้มค่าในการลงทุน
สามารถคำนวณโดยใช้สูตร : อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ = ราคาหุ้น / กำไรสุทธิต่อหุ้น
โดยยิ่งค่า P/E ต่ำ อาจสะท้อนว่าหุ้นนั้นดูมีความคุ้มค่า
2. ผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield)
Dividend Yield เป็นอีกอัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสำหรับการลงทุนที่เน้นผลตอบแทนจากเงินปันผลเป็นหลัก โดย การนำเม็ดเงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมาเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อ
คำนวณโดยใช้สูตร: อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล = เงินปันผลจ่ายต่อหุ้น / ราคาหุ้น * 100
3. อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book Value Ratio: P/BV Ratio)
P/BV เป็นอัตราส่วนที่นำราคาหุ้นมาเปรียบเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (ส่วนของผู้ถือหุ้น/จำนวนหุ้น) เพื่อเป็นการเปรียบเทียบว่าการซื้อกิจการนี้ถูกหรือแพงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
คำนวณโดยใช้สูตร: อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี = ราคาหุ้น / มูลค่าทางบัญชี
ซึ่งหากมีค่าต่ำกว่า 1 เท่า นั่นหมายความว่าจะสามารถซื้อหุ้นได้ถูกกว่ามูลค่าของเจ้าของ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์หุ้นไม่ง่าย ไม่สามารถใช้อัตราส่วนทางการเงินตัวใดตัวหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนได้ รวมถึงต้องมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย
เทคนิคการหาหุ้นคุณค่า เพื่อการลงทุนแบบ VI
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
วิเคราะห์จากจุดแข็งต่างๆ ของบริษัทเจ้าของสินทรัพย์นั้นๆ เช่น สินค้ามีความน่าสนใจ สามารถสร้างลูกค้าใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นสินค้าที่หาสินค้าทดแทนได้ยาก เป็นต้น รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เช่น รายได้ กำไร และสภาพการเงิน
การวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโต
นอกจากปัจจัยพื้นฐานแล้ว คุณควรวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของบริษัทในอนาคต ดูการเติบโตของยอดขาย กำไร และเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเพื่อประเมินว่าบริษัทนั้นยังมีโอกาสเติบโตได้มากแค่ไหน
วิเคราะห์ราคา
นอกจากการพิจารณาแล้วว่าเป็นหุ้นที่ดี ก็ต้องมีการวิเคราะห์ราคาด้วยเช่นกันว่าราคานั้นแพงหรือไม่ ซึ่งแพงหรือไม่แพง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาขาย แต่หมายถึงมีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริง และศักยภาพในการเติบโตหรือไม่ตามที่ได้ประเมินมูลค่าที่แท้จริงไปข้างต้น
นอกจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แนวโน้มการเติบโต และราคาแล้ว คุณยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ภาพลักษณ์บริษัท ความสามารถของผู้บริหาร หรือโครงสร้างของผู้ถือหุ้น ด้วยเช่นกัน
กองทุนรวมผสมซาวาคามิ มุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
กองทุนรวมผสมซาวาคามิ (Sawakami Mixed Fund) มุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี หรือคาดว่าจะมีการเติบโตในอนาคต โดยคำนึงถึงสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวประกอบ โดยมีนโยบายการลงทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนที่มีคุณค่า เป้าหมายการลงทุนที่เป็นดังนี้
- มุ่งเน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีหรือคาดว่าจะมีการเติบโตในอนาคต โดยการประเมินหลักทรัพย์ทั้งในเชิงของคุณภาพ เช่น กลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจ การเติบโตของกิจการ การกำกับดูแลกิจการ และในเชิงของปริมาณ เช่น ผลประกอบการ อัตราส่วนทางการเงิน ทั้งนี้ในการลงทุนจะมีการวิเคราะห์ภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมรวมถึงสภาวะทางเศรษฐกิจสังคมในระยะยาวประกอบเพื่อคัดสรรหลักทรัพย์ที่เหมาะสม
- ลงทุนในตราสารทุน หน่วยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก
- มุ่งหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิง (Active Management)
คำเตือน กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนฯ ในกองทุนรวม SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนตามที่กรมสรรพากรกำหนด
สนใจศึกษาข้อมูลกองทุนได้ที่ www.sawakami.co.th/all-fund
ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ซาวาคามิ (ประเทศไทย) เว็บไซต์ www.sawakami.co.th
หรือ Customer Service โทร 02-081-0525 ถึง 26 หรือ Line Official @sawakamith https://line.me/R/ti/p/@704veymq
Facebook Official : Sawakami Asset Management Thailand https://www.facebook.com/sawakami.th
แชร์ :